อาหารหลัก 5 หมู่ มีอะไรบ้าง

     อาหารมีความจำเป็นต่อร่างกายและการดำรงชีวิตของมนุษย์มาก  และคือเป็นปัจจัย 4 ที่มีความสำคัญ  การที่เราจะเจริญเติบโต  มีสุขภาพที่แข็งแรง  จะต้องบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อร่างกายได้อย่างเหมาะสมตรงตามหลักโภชนาการ  ไม่เช่นนั้นแล้วร่างกายของเราก็มะไม่สมบูรณ์แข็งแรง  ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆในร่างกายทำให้เกิดโรคได้ง่าย  อย่างเช่นโรคขาดสารอาหาร  โรคกระดูก  โรคหัวใจ  หรือคนที่เป็นโรคบางชนิดต้องการสารอาหารที่จำเป็นเพื่อบรรเทาอาการที่เป็นได้  เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอก็ไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตสมวัย  ดังนั้นแล้วเราควรเอาใจใส่ในการบริโภคอาหารในแต่ละวัยเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

             สารอาการเหล่านี้ทางโภชนาการได้ออกแบบให้เป็นหมวดหมู่  เพื่อเป็นการง่ายต่อผู้บริโภคและใช้ในการบริโภคอาหารต่อวันให้ครบทั้ง 5 หมู่  และมีสัดส่วนความสำคัญตามลำดับ  การรับประทานอาหารต้องมีความหลากหลาย  ไม่มีอาหารใดชนิดใดที่ให้สารอาหารอย่างครบทั้งหมด  ซึ่งจะมีสารอาหารที่มากน้อยต่างกันในแต่ละชนิด  การรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เป็นทางเลือกที่สำคัญในการทำให้ร่างกายแข็งแรง

 

           หมู่ที่ 1 เนื้อ นม ไข่  ถั่ว  และผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก4อย่างข้างต้น  อาหารหมู่นี้จะเน้นที่โปรตีนเป็นหลัก  รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ด้วย  เนื้อสัตว์อย่างเช่น  เนื้อวัว  เนื้อหมู่  ไก่ เป็ด  ปลา  และสัตว์อื่นๆ  นทก็ตจะได้จาก  นมคน  นมวัว  นมแพะ  ไข่  จะเป็นไข่ไก่  ไข่เป็ด  ไข่นก  จะได้จากการแปรรูปถั่วอีก  เช่น  น้ำเต้าหู้  เต้าเจี้ยว  และอื่นๆ

โปรตีนจากหมู่ที่ 1 นั้นเป็นส่วนสำคัญที่ใช้ในการเจริญเติบโตของร่างกาย  และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเป็นสารอาหารที่ได้จากหมู่ 1 เท่านั้นถ้าได้จากหมู่อื่นจะไม่มีความสมบูรณ์  พร้อมทั้งยังให้กรดอะมิโนต่อร่างกาย  ทำให้ฮอร์โมนและเอนไซม์ชนิดอื่นที่มีต่อร่างกายทำงานได้ดีและมีการพบว่าเนื้อสัตว์มีปริมาณโปรตีนอยู่มากแต่ไม่เท่ากับถั่วเหลือที่มีมากถึง 34%  ปริมาณโปรตีน 1 กรับให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี  โปรตีนมีโมเลกุลขนาดใหญ่จะถูกย่อยด้วยกรดและเอนไซม์ในกระเพราะอาหารและลำไส้เล็กในการย่อย  โดยประเทศที่กำลังพัฒนานั้นรวมถึงประเทศไทยมักจะได้รับปริมาณโปรตีนที่ต่ำ  ทำให้เป็นโรคขาดสารอาหารและเด็กก็มีการเจริญเติบโตที่ไม่เหมาะสมจึงให้ความสำคัญเป็นหมวดหมู่แรก

          หมู่ที่ 2 ข้าว  แป้ง  น้ำตาล  เผือก  ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งเหล่านั้นข้าวต้น  เป็นแหล่งที่ให้สารอาหารพวก  คาร์โบไฮเดรตสูง  ยกเว้นน้ำตาล  หมู่ที่ 2 สามารถให้โปรตีนได้ด้วยแต่ไม่สมบูรณ์เท่ากับหมู่ 1 และมีวิตามิน  เกลือแร่  เล็กน้อย  ตัวอย่าง  ข้าวเหนียว  ข้าวจ้าว  ข้าวโพด  ข้าวสาลี  แม้กระทั่วอย่างอื่นที่เป็นแป้งชนิดต่างๆ

คาร์โบไฮเดรต  ให้พลังงานกับร่างกาย  และทำให้ร่างกาบอบอุ่น  นักโภชนาการระบุให้ว่าร่างกายความได้รับ 55% ต่อสารอาหารที่ได้รับเข้าไปในแต่ละวัน  เป็นสารอาหารที่เราหาได้ง่ายมาก  มักประกอบไปด้วยทุกมื้อ  และคนไทยทานข้าวเป็นหลักอยู่แล้วจึงไม่พบขาดสารอาหารจากหมู่นี้  คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม  ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี

นอกจากนั้นแล้วยังพบใน  เส้นหมี่ต่างๆ  ขนมจีน  มันเทศ  มันฝรั่ง  คาร์โบไฮเดรตจะถูกย่อยผ่านเอนไซท์ในปากก่อนเป็นอันดับแรกซึ่งจะย่อต่อในกระเพราะอาหาร  และลำไส้เล็กจะได้น้ำตาลกลูโคสซึมผ่านลำไส้เล็ก  ก่อนส่องไปยังบริเวณต่างๆของร่างกายและจะถูกเผาผลาญโดยร่างกายต่อไป

          หมู่ที่ 3 พืช ผัก ต่างๆ  อาหารของหมู่ 3 เน้นไปที่วิตามินและแร่ธาตุ  มีโปรตีนที่ได้จากพืชบ้างแต่ไม่เท่ากับที่ได้จากเนื้อสัตว์  เพราะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็น  นอกจากนั้นพืชที่มีสีเขียวยังมีใยอาหารจำนวนมาก  ส่วนที่มีสีเหลืองมีแคโรทีน  ตัวอย่างคะน้า  ผักบุ้ง  ตำลึง  ที่มีสีเหลือง  ฟักทอง  แครรอท  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้ง  ใบ  ผล  ต้น  สามารถอาหารที่มีมากเช่น  วิตามินเอ  วิตามินซี  บางชนิดมีแคลเซียมสูง  เช่น  มะรุม  ดอกแค  สะเดา  มีเหล็กสูง  ค้น  ผักขม  ผัดบางชนิดมีแคลอรีสูง  เช่น  มันเทศ  เผือก  แต่จัดให้อยู่หมู่สอง

วิตามินต่างๆ  ทำให้ร่างกายเราแข็งแรง  และทำให้ระบบต่างๆของร่างทำงานได้อย่างปกติ  ป้องกันโรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย  ซึ่งวิตามินในแต่ละตัวจะมีหน้าที่แตกต่างกันไป  และการที่ผักมีใยอาหารสูงทำให้การขับถ่ายดีด้วย  ผักนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายมากหากรับในปริมาณไม่เพียงพออาจจะเป็นโรคต่างๆตามมาเช่น  หากขากธาตุเหล็กก็ทำให้โลกหิตจาง   โรคตาต่างๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิตามินเอ  โรคเหน็บชา  ขาดวิตามินบี  เราควรรับประทานผักแต่ละมื้อให้เพียงพอ  อย่างน้อยร้อยละ 5 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน

        หมู่ที่ 4 ผลไม้ชนิดต่างๆ  ให้สารอาหารไม่ต่างจากหมู่ที่ 3 แต่ว่าจะมีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงกกว่าเป็นแหล่งพลังงานให้ร่างกายอีกด้วย  บางประเทศอาจจะจัดให้อยู่หมู่เดียวกันก็ได้แต่เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคทั้งสองอย่างของคนไทยนั้นแยกกันอยู่แล้วคือทำอาหารมักใช้ผัก  ส่วนผลไม้ก็กินทีหลัง  ซึ่งตามจริงแล้วควรรับทั่งสองอย่างด้วย  ผลไม้ที่สุดจะให้พลังงานที่มากกว่าผลไม้ดิบ  อย่างเช่น  มะม่วง  มะละกอ  กล้วย  แตงโม  ขนุน  มะยมเป็นต้น
ผลไม้ก็ทำงานและมีประโยชน์ไม่ต่างไปจากผัก  คือทำให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ  บำรุงร่างกาย  ป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น  นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งพลังงานของร่างกายควรรับประทานร้อยละ 3 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน

         หมู่ที่ 5 ไขมัน  เน้นไปที่ให้พลังงานกับร่างกายที่สูงได้จากพืชและสัตว์  ซึ่งเป็นผลผลิตที่เป็นไขใน  น้ำมันต่างๆ  น้ำมันหมู  น้ำมันวัว  นม  เนย  จากพืชเช่น  น้ำมะพร้าว  น้ำมันมะกอก  น้ำมันงา  น้ำมันถั่วเหลือง  กะทิ  เป็นต้น  น้ำมันหรือไขมันที่ได้  จะมีการแบ่งเป็นไขมันอิ่มตัวและไขมันไม่อิ่มตัว  หากเรารับประทานไขมันอิ่มตัวมากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้  และทำให้อ้วนด้วยเพราะสะสมในร่างกาย ไขมันนอกจากจะให้พลังงานกับร่างกายแล้ว  ยังทำให้เกิดภูมิคุ้มกันให้กับอวัยวะสำคัญด้วย  ไขมันมีส่วนสำคัญในการดูดซึมวิตามินบางตัวให้เข้าสู่ร่างกาย  ไขมันให้พลังงานที่สูง 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม  เราควรได้รับไขมันร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน